ออกแบบ จำหน่าย ผลิตทำตู้MDBตู้ไฟ ตู้คอนโทรลทุกชนิด

185675443_3819849494800138_7897582801721756469_n (1)
13198

ตู้สวิทช์บอร์ดไฟฟ้า MDB เป็นผลิตภัณฑ์แรก ที่ทางห้างหุ้นส่วนจำกัด ที.ดับบลิว.ซี.โปร เซอร์วิส ดำเนินธุระกิจด้านไฟฟ้า รับผลิต ออกแบบ จำหน่ายพร้อมติดตั้ง รวมไปถึงตู้คอนโทรลไฟฟ้าแบบอื่นๆ ทุกชนิด ได้ทุกขนาดและการใช้งาน ตู้สวิทช์บอร์ด ตู้ไฟฟ้าทุกตู้ที่ทางเราผลิตขึ้น จะมีการออกแบบตามมาตรฐานสากล ส่วนวัสดุที่ใช้จะต้องถูกหลักได้คุณภาพ เหล็กที่ใช้ผลิตตามมาตรฐานโรงงาน มอก.
งานตู้เราออกแบบโดย วิศวกรที่เชี่ยวชาญ และผลิตโดยทีมช่างผู้มีประสบการณ์ มีทีมงานออกพื้นที่เพื่อติดตั้งตู้พร้อมให้ลูกค้าใช้งาน ราคายุติธรรม มีที่มาที่ถูกต้อง สามารถตรวจสอบได้ ทุกงานการผลิตของเรามีประกัน และบริการหลังการขาย ติดตามความต้องการเพิ่มเติมของลูกค้า เพราะเราให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากทราบกันอยู่แล้วว่า ตู้MDB เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับ การขับเคลื่อนผลิตสินค้าของอุตสาหกรรมทุกสายงาน

วัตถุประสงค์ของตู้MDB

ตู้สวิทช์ประธาน (Main Distribution Board) เป็นตู้แหล่งจ่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับแหล่งอุตสาหกรรมขนาดกลางและใหญ่ทุกสายงานที่จำเป็นต้องไฟฟ้าจำนวนมากเพื่อขับเคลื่อนในการผลิต โดยเป็นจุดแรกที่รับไฟจากการไฟฟ้าหรือแหล่งรับแรงต่ำ ของ หม้อแปลงจําหน่ายหลัก แล้วจ่ายกำลังไฟฟ้าไปยังตู้ย่อยตามส่วนต่าง ๆ ของกิจการ อาคารต่างๆ มาดูวัตถุประสงค์หลักๆของตู้ MDB มี 4 ประการ

1. แจกจ่ายกำลังไฟฟ้า (Power Distribution)

 

– การรับไฟจากการไฟฟ้าเข้ามาในอาคารโดยผ่านสวิทช์ขนาดใหญ่หรือบางครั้งจะอีกชื่อหนึ่งว่า สวิตซ์เกียร์ (Switchgear) 

– การแจกจ่ายกระแสไฟฟ้าจากตู้ MDB ไปยังแผงสวิทช์หรือแผงไฟ (DB) ที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆของอาคาร

 

งานเดินระบบไฟฟ้า,งานแก้ไขไฟฟ้าขัดข้อง.งานรื้อถอนและติดตั้งระบบไฟฟ้าครบวงจร,งานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า, งานทำตู้MDB(สวิทช์บอร์ด)ตู้ไฟ ตู้คอนโทรล

2. ป้องกันระบบไฟฟ้า (Electrical Protection)

 


ความผิดปกติของระบบไฟฟ้าที่อาจจะเกิดขึ้นมีดังนี้

  • ไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit)
  • โหลดเกินหรือกระแสไฟฟ้าเกิน (Overload)
  • แรงดันไฟฟ้าเกิน (Over Voltage)
  • แรงดันไฟฟ้าตก (Under Voltage)
  •  แรงดันไฟฟ้าหายบางเฟส (Phase loss)
  • แรงดันไฟฟ้าสลับเฟส (Phase Sequence)
  • ป้องกันเมื่อมีกระแสรั่วลงดิน (Earth Leakage)
  • ป้องกันฟ้าผ่า (Surge Protection)

 

งานเดินระบบไฟฟ้า,งานแก้ไขไฟฟ้าขัดข้อง.งานรื้อถอนและติดตั้งระบบไฟฟ้าครบวงจร,งานบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า, งานทำตู้MDB(สวิทช์บอร์ด)ตู้ไฟ ตู้คอนโทรล

3. แสดงสถานะการทำงาน (Monitoring)

 

เพาว์เวอร์ มิเตอร์ (Power meter) ใช้ในการแสดงค่าพารามิเตอร์และปริมาณพลังงานไฟฟ้าเช่น แรงดัน , กระแส , ความถี่ , กำลังงานไฟฟ้าจริง , กำลังงานไฟฟ้ารีแอคทีฟ และ Harmonic เป็นต้น เพื่อใช้ในการวัดคุณภาพของการใช้พลังงานเช่นเดียวกับการวัดการบันทึกปริมาณพลังงานที่ถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในประหยัดพลังงาน  ทั้งนี้เพาว์เวอร์มิเตอร์สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก้ Analog Power Meter และ Digital Power Meter 

4. ระบบไฟฟ้าสำรอง (Backup Power)

ระบบไฟฟ้าสำรองนั้นมีหลายรูปแบบและหลายระดับ ตั้งแต่การสตาร์ทเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (generator) แบบ manual และการเปลี่ยนแหล่งจ่ายไฟไปเป็น Uninterrupted Power Supply หรือ UPS แบบอัตโนมัติเพื่อซัพพอร์ตวงจรที่จำเป็น ในขณะเดียวกันคอนโทรลเลอร์ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator Controller) สั้งสตาร์ทเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เมื่อกำลังไฟฟ้าพร้อมที่จ่าย ก็จะสั่งงาน ATS (Automatic Transfer Switch) แบบอัตโนมัติ เพื่อมาใช้ไฟฟ้าสำรองจาก generator แทนการใช้งาน USP   ทั้งนี้จะกลับไปใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักเมื่อแหล่งจ่ายไฟหลักกลับสู่สภาพปกติ

มารู้จักประเภทตู้ระบบไฟฟ้า

ตู้ไฟฟ้า มีหลายแบบหลายประเภท เราจึงชวนมาทำความรู้จักกับชนิดของตู้ไฟฟ้า ก่อนอื่นอยากให้เข้าใจว่า ตู้ไฟฟ้า ตู้คอนโทรล ตู้เมน หรือ ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต คือ ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าในอาคาร บ้าน คอนโด หรือที่พัก สามารถติดตั้งได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถช่วยป้องกันอันตรายต่าง ๆ ได้ทั้งไฟเกิน ไฟซ็อต รวมถึงป้องกันไฟรั่ว เพราะเป็นที่เก็บอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีหน้าที่ควบคุมระบบไฟฟ้า เช่น มิเตอร์ไฟฟ้า อุปกรณ์ตัดต่อวงจร เซอร์กิตเบรกเกอร์ สวิตช์ หรือ สวิตช์บอร์ด เป็นต้น ซึ่งไม่ว่าจะมีอัตราการใช้ไฟมากหรือน้อย ก็ต้องอาศัยระบบการควบคุมแรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้า โดยระบบเหล่านี้จะต้องทำงานภายในตู้ที่ผลิตจากวัสดุที่แข็งแรง มีฝาเปิดปิด เพื่อใช้ควบคุม และป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในได้อย่างปลอดภัย โดยตู้เหล่านี้ปัจจุบันมีให้เลือกหลายรูปแบบ ทั้งใช้เป็นตู้ควบคุมภายใน ภายนอกอาคาร มีทั้งตู้ไฟประเภทฝาจม, ตู้ไฟกันน้ำ, ฝายกขอบกันน้ำ, ตู้ไฟแบบมีหลังคา หรือ ตู้ไฟ แบบมีฝา 2 ชั้น และอื่น ๆ โดยสามารถเลือกใช้งานตามความเหมาะสม นอกจากนี้ ยังสามารถสั่งผลิตตู้ได้ตาม ขนาด แบบ และ สามารถเลือกสีสันได้ตามความต้องการ

แบ่งออกเป็น 4 ประเภท​

  1. ตู้ MDB (Main Distribution Board)   คือ ตู้ที่ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก มี Main เซอร์กิตเบรกเกอร์ เพื่อตัดต่อวงจรไฟฟ้าทั้งหมดของอาคารจะมีการออกแบบและผลิตโดยเฉพาะ เพื่อให้เหมาะสมกับระบบไฟและพื้นที่การติดตั้งตามมาตรฐานการติดตั้ง โดยตู้ MDB จะต้องมีความแข็งแรงสูง นอกจากตู้จะต้องใช้รับแรง ป้องกันอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในยังต้องสามารถทนความร้อนได้ กรณีที่เกิดการลัดวงจร หรือ เกิดความผิดปกติอื่น ๆ ในระบบไฟฟ้า ตู้ MDB จะรับกระแสไฟจากหม้อแปลงของการไฟฟ้า และ ควบคุมการจ่ายไฟต่อไปยังตู้ควบคุมระบบไฟรองอื่น ๆ เช่น SDB (Sub Distribution Board)
  1. ตู้ SDB (Sub Distribution Board) ตู้ควบคุมไฟฟ้าระบบย่อย คือ ตู้ที่ไว้ควบคุมระบบไฟฟ้า ที่รองลงมาเพื่อจ่ายกระแสไฟไปยังตู้อื่น ๆ เช่น ตู้ PB หรือ ตู้ Load Center ซึ่งจะขึ้นกับการออกแบบตามความเหมาะสม
  1. ตู้ PB (Panel Board) หรือ ตู้ Load Center จะมีแผงเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ควบคุมการจ่ายไฟไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ซึ่งในระบบอาจมีหลายตู้ โดยขึ้นกับความต้องการในการแบ่งโซนในการควบคุม และจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ
  1. ตู้ LP (Load Panel) ถ้าเป็นไฟ 3 เฟส จะเรียกว่า ตู้ Load Center แต่ถ้าเป็นแบบ 1 เฟสจะเรียกกันว่า ตู้ Consumer Unit โดยจะเป็นตู้ย่อยในหมวดของตู้ PB อีกที

ความรู้อ้างอิงจากผู้เขียน : ชญาภรณ์ ภูงามเงิน

Scroll to Top